tripitaka-mbu / 39 /390345.csv
uisp's picture
add data
3c90236
Book,Page,LineNumber,Text
39,0345,001,หรือเมื่อกรณียกิจทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ไม่เข้าประกอบด้วยตนเอง. ก็คำใดว่า <B>อสฺส</B>
39,0345,002,ที่ตรัสไว้ในคำนี้ว่า <B>สุวโจ อสฺส</B> แห่งคาถานี้ คำนั้น พึงประกอบเข้ากับ
39,0345,003,บททุกบทอย่างนี้ว่า <B>สนฺตุสฺสโก จ อสฺส สุภโร จ อสฺส.</B>
39,0345,004,<H2>พรรณนาคาถาที่ ๓</H2>
39,0345,005,พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสบอกกรณียะ แม้ยิ่งไปกว่านั้น โดย
39,0345,006,เฉพาะอย่างยิ่ง แก่ภิกษุผู้อยู่ป่า ซึ่งประสงค์จะบรรลุสันตบทแล้วอยู่ หรือ
39,0345,007,ประสงค์จะปฏิบัติเพื่อบรรลุสันตบทนั้น อย่างนี้แล้วบัดนี้ มีพระพุทธปุระสงค์
39,0345,008,จะตรัสบอกอกรณียะ จึงตรัสกึ่งคาถาว่า <B>น จ ขุทฺทํ สมาจเร กิญฺจิ เยน
39,0345,009,วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุํ.</B>
39,0345,010,กึ่งคาถานั้น มีความดังนี้ ภิกษุเมื่อทำกรณียะนี้อย่างนี้ ก็ไม่พึง
39,0345,011,ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริตและมโนทุจริต ที่เรียกว่า <B>ขุททะ</B> คือลามก เมื่อ
39,0345,012,ไม่ประพฤติ มิใช่ไม่ประพฤติแต่กรรมหยาบอย่างเดียว แม้กรรมเล็กน้อยไร ๆ
39,0345,013,ก็ไม่ประพฤติ ท่านอธิบายว่า ไม่ประพฤติลามกกรรมทั้งจำนวนน้อย ทั้งขนาด
39,0345,014,เล็ก.
39,0345,015,แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงโทษที่เห็นได้เอง ในการ
39,0345,016,ประพฤติลามกกรรมนั้นว่า <B>เยน วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุํ.</B> ก็ในคำนี้ เพราะ
39,0345,017,เหตุที่ผู้มิใช่วิญญูชนเหล่าอื่น ไม่ถือเป็นประมาณ. เพราะอวิญญูชนเหล่านั้น
39,0345,018,ยังทำกรรมไม่มีโทษหรือมีโทษ มีโทษน้อยหรือมีโทษมาก. ส่วนวิญญูชนทั้ง
39,0345,019,หลายเท่านั้น ถือเป็นประมาณได้ เพราะว่าวิญญูชนเหล่านั้น ใคร่ครวญทบ
39,0345,020,ทวนแล้ว ย่อมติเตียนผู้ที่ควรติเตียน สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ. ฉะนั้น จึง
39,0345,021,ตรัสว่า <B>วิญฺญู ปเร.</B>