|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
39,0312,001,เป็นต้น. ศีลทุกอย่างท่านประสงค์ว่าศีลในที่นี้. บทว่า <B>สัญฺญโม</B>ได้แก่
|
|
39,0312,002,ความสำรวม ท่านอธิบายว่า การห้ามใจไปในอารมณ์ต่าง ๆ คำนี้ เป็นชื่อของ
|
|
39,0312,003,สมาธิ ที่บุคคลประกอบแล้ว ท่านเรียกว่าผู้สำรวมสูงสุด ในบาลีนี้ว่า <B>หตฺถ-
|
|
39,0312,004,สญฺโต ปาทสญฺโต วาจาสญฺโต สญฺตุตฺตโม</B> ผู้สำรวมมือ สำรวม
|
|
39,0312,005,เท้า สำรวมวาจา ชื่อว่าผู้สำรวมสูงสุด. อาจารย์อีกพวกกล่าวว่าความสำรวม ท่าน
|
|
39,0312,006,อธิบายว่า ความระวัง ความสังวร คำนี้ เป็นชื่อของอินทรีย์สังวร. ความฝึกฝน
|
|
39,0312,007,ชื่อว่า ทมะ ท่านอธิบายว่า การระงับกิเลส คำนี้เป็นชื่อของปัญญา. จริงอยู่
|
|
39,0312,008,ปัญญาในบาลีบางแห่งเรียกว่า ปัญญา ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า <B>สุสฺสูสํ
|
|
39,0312,009,ลภเต ปญฺํ</B> ผู้ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา บางแห่งท่านเรียกว่า ธรรมะ ใน
|
|
39,0312,010,ประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า <B>สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค</B> สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ
|
|
39,0312,011,บางแห่งท่านเรียกว่า <B>ทมะ</B> ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า <B>ยทิ สจฺจา ทมา
|
|
39,0312,012,จาคา ขนฺตยาภิยฺโย น วิชฺชติ</B> ผิว่า ธรรมยิ่งกว่าสัจจะ ทมะ จาคะ
|
|
39,0312,013,ขันติ ไม่มีไซร้.
|
|
39,0312,014,บัณฑิตรู้จักทานเป็นต้น อย่างนี้แล้ว พึงประมวลมาทราบความแห่ง
|
|
39,0312,015,คาถานี้ อย่างนี้ว่า ขุมทรัพย์ที่สำเร็จด้วยบุญของผู้ใด เป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็
|
|
39,0312,016,ตาม เขาจะเอาธรรมะ ๔ เหล่านี้คือ ทาน ศีล สัญญมะ ทมะที่ฝังไว้ดีแล้ว
|
|
39,0312,017,ด้วยการทำธรรมทั้ง ๔ มี ทานเป็นต้น เหล่านั้นไว้ด้วยดี ในจิตสันดานเดียว
|
|
39,0312,018,หรือในวัตถุมีเจดีย์เป็นต้น เหมือนขุมทรัพย์ที่สำเร็จด้วยธนชาต เขาก็เอาเงิน
|
|
39,0312,019,ทอง มุกดา มณี ฝังไว้ ด้วยการใส่เงินทองเป็นต้นเหล่านั้น ลงในเดียวกัน
|
|
39,0312,020,ฉะนั้น.
|
|
39,0312,021,<H2>พรรณนาคาถาที่ ๗</H2>
|
|
39,0312,022,พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่บุญสัมปทาเป็นขุมทรัพย์
|
|
39,0312,023,โดยปรมัตถ์ ด้วยคาถานี้ว่า <B>ยสฺส ทาเนน</B> เป็นต้นอย่างนี้แล้ว เมื่อทรง
|
|
39,0312,024,แสดงวัตถุที่ขุมทรัพย์อันบุคคลฝังแล้ว ชื่อว่าฝังไว้อย่างดี จึงตรัสว่า
|
|
|