|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
39,0192,001,อย่างนี้เป็นต้น
|
|
39,0192,002,พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ ๔ มงคล คือการบำรุง
|
|
39,0192,003,มารดา ๑ การบำรุงบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ และการงาน
|
|
39,0192,004,ไม่อากูล ๑ หรือ ๕ มงคล เพราะแยกการสงเคราะห์บุตรและภรรยาออกเป็น
|
|
39,0192,005,๒ หรือ ๓ มงคล เพราะรวมการบำรุงมารดาและบิดาเป็นข้อเดียวกัน . ก็
|
|
39,0192,006,ความที่มงคลเหล่านั้น เป็นมงคล ได้ชี้แจงไว้ในมงคลนั้น ๆ แล้ว ทั้งนั้นแล.
|
|
39,0192,007,<I>จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า มาตาปิตุอุปฏฺานํ</I>
|
|
39,0192,008,<H1>พรรณนาคาถาว่า ทานญฺจ</H1>
|
|
39,0192,009,บัดนี้ จะพรรณนาในคาถานี้ว่า <B>ทานญฺจ.</B> ชื่อว่า ทาน เพราะเขาให้
|
|
39,0192,010,ด้วยวัตถุนี้ ท่านอธิบายว่า เขามอบทรัพย์ที่มีอยู่ของตนให้แก่ผู้อื่น. การประพฤติ
|
|
39,0192,011,ธรรมหรือความประพฤติที่ไม่ปราศจากธรรม ชื่อว่า <B>ธรรนจริยา.</B> ชื่อว่า <B>ญาติ</B>
|
|
39,0192,012,เพราะใคร ๆ ก็รู้ว่า ผู้นี้พวกของเรา. ไม่มีโทษ ชื่อว่า <B>อนวัชชะ</B> ท่าน
|
|
39,0192,013,อธิบายว่า ใคร ๆ นินทาไม่ได้ ติเตียนไม่ได้. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้ว
|
|
39,0192,014,ทั้งนั้นแล. นี้เป็นการพรรณนาบท .
|
|
39,0192,015,ส่วนการพรรณนาความ พึงทราบดังนี้. เจตนาเป็นเหตุบริจาคทาน.
|
|
39,0192,016,วัตถุ ๑๐ มีข้าวเป็นต้น ซึ่งมีความรู้ดีเป็นหัวหน้า เฉพาะผู้อื่น หรือความ
|
|
39,0192,017,ไม่โลภ ที่ประกอบด้วยจาคเจตนานั้น ชื่อว่า <B>ทาน.</B> จริงอยู่ บุคคลย่อมมอบ
|
|
39,0192,018,ให้วัตถุนั้น แก่ผู้อื่น ด้วยความไม่โลภ. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ชื่อว่า
|
|
39,0192,019,<B>ทาน</B> เพราะเขาให้ทานด้วยวัตถุนี้ ตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุประสบผลวิ-
|
|
39,0192,020,เศษที่เป็นไปในปัจจุบัน และเป็นไปภายหน้า มีความเป็นผู้ที่ชนเป็นอันมากรัก
|
|
39,0192,021,และพอใจเป็นต้น. ในเรื่องทานนี้ พึงระลึกถึงสูตรทั้งหลาย เป็นต้น อย่างนี้ว่า
|
|
39,0192,022,<B>ดูก่อนสีหะ ทานบดีผู้ทายกย่อมเป็นที่รักที่พอใจของชนเป็นอันมาก.</B>
|
|
|