|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
39,0146,001,ส่วนในสูตรนี้ และในปาฐะแห่งสุตตันตปิฎก ซึ่งมีกำเนิดอย่างนี้อื่น ๆ
|
|
39,0146,002,สมยศัพท์มีอรรถว่า อัจจันตสังโยค คือทุติยาวิภัตติ ที่แปลว่าตลอด. จริงอยู่
|
|
39,0146,003,พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสูตรนี้หรือสูตรอื่น ตลอดสมัยใด ก็ประทับอยู่ด้วย
|
|
39,0146,004,พระกรุณาวิหารตลอดไปคือตลอดสมัยนั้น เพราะฉะนั้น <B>สมย</B> ศัพท์จึงควร
|
|
39,0146,005,ทราบว่า ท่านทำนิเทศเป็นทุติยาวิภัตติไว้ในสูตรนี้ ก็เพื่อส่องความนั้น. ใน
|
|
39,0146,006,ข้อนี้ มีคำกล่าวว่า
|
|
39,0146,007,<B>ตํ ตํ อตฺถมเปกิขิตฺวา ภุมฺเมน กรเณน จ
|
|
39,0146,008,อญฺตฺร สมโย วุตฺโต อุปโยเคน โส อิธ.
|
|
39,0146,009,ท่านพิจารณาอรรถนั้น ๆ กล่าวสมยศัพท์ในปิฎก
|
|
39,0146,010,อื่นด้วยสัตตมีวิภัตติและด้วยตติยาวิภัตติ แต่ในสุต-
|
|
39,0146,011,ตันตปิฎกนี้ สมยศัพท์นั้น ท่านกล่าวด้วยทุติยาวิภัตติ.</B>
|
|
39,0146,012,<H2>แก้อรรถบท ภควา</H2>
|
|
39,0146,013,คำว่า <B>ภควา</B> นี้เป็นคำเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้วิเศษโดยพระ-
|
|
39,0146,014,คุณเป็นยอดของสัตว์ เป็นครูและควรเคารพเหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
|
|
39,0146,015,<B>ภควาติ วจน์ เสฏฺํ ภควาติ จนนมุตตมํ
|
|
39,0146,016,ครุคารวยุตฺโต โส ภควา เตน วุจฺจติ.
|
|
39,0146,017,คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา เป็น
|
|
39,0146,018,คำสูงสุด พระองค์ทรงเป็นครู และควรแก่ความเคารพ
|
|
39,0146,019,ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกว่า ภควา.</B>
|
|
39,0146,020,ความจริง นามคือชื่อมี ๔ คือ อาวัตถิกะ ชื่อตามรุ่น ลิงคิกะชื่อตามเพศ
|
|
39,0146,021,เนมิตตกะ. ชื่อตามคุณ อธิจจสมุปันนะ ชื่อตั้งลอย ๆ. ชื่อว่าอธิจจสมุปปันนนาม
|
|
39,0146,022,ท่านอธิบายว่า เป็นนามที่ตั้งตามความพอใจ. ในนามทั้ง ๔ นั้น นามเป็นต้น
|
|
|