|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
13,0554,001,และปธานสังขาร. บทว่า <B>อิทฺธิปาทํ</B> ความว่า กองแห่งจิตที่เหลือ หรือ
|
|
13,0554,002,เจตสิก เป็นบาทด้วยอรรถว่า ตั้งมั่นแห่งฉันทสมาธิ และปธานสังขาร
|
|
13,0554,003,อันประกอบพร้อมด้วยอภิญญาจิต ซึ่งถึงอันนับว่า <B>อิทธิ</B> โดยปริยายว่า สำเร็จ
|
|
13,0554,004,หรือโดยปริยายนี้ว่า เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายสำเร็จด้วยอรรถว่า สำเร็จ คือ
|
|
13,0554,005,เป็นผู้สำเร็จแล้ว สมบูรณ์แล้ว ถึงที่สุดแล้ว. เพราะคำว่า <B>อิทธิบาท</B> ท่าน
|
|
13,0554,006,กล่าวว่า เวทนาขันธ์ แห่งความเป็นจริงใด ฯลฯ วิญญาณขันธ์. พึงทราบอรรถ
|
|
13,0554,007,แม้ในบทที่เหลือโดยนัยนี้. เพราะสมาธิที่ทำฉันทะเป็นใหญ่ จึงได้มา ท่าน
|
|
13,0554,008,เรียกว่า ฉันทสมาธิฉันใด สมาธิที่ทำวิริยจิต วิมังสาเป็นใหญ่ได้มา เรียกว่า
|
|
13,0554,009,<B>วิมังสาสมาธิ</B> ฉันนั้น.
|
|
13,0554,010,อนึ่ง พึงทราบอรรถในคำนี้ว่า บาทในส่วนต้นว่า อุปจารฌาน
|
|
13,0554,011,เป็นบาท ปฐมฌานเป็นอิทธิ ปฐมฌานเป็นบาท ทุติยฌานเป็นอิทธิ เป็น
|
|
13,0554,012,อิทธิในส่วนปลาย. ก็อิทธิบาทกถา ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค และใน
|
|
13,0554,013,วิภังคอรรถกถา โดยพิสดาร. แต่เกจิอาจารย์ กล่าวว่า อิทธิที่สำเร็จแล้ว
|
|
13,0554,014,เป็นอิทธิที่ยังไม่สำเร็จ. เพื่อประโยชน์แห่งการพูดถึงวาทะแห่งเกจิอาจารย์เหล่า
|
|
13,0554,015,นั้น ชื่อว่า อุตรจูฬิกวาร มาแล้วในอภิธรรมว่า อิทธิบาท ๔ คือ ฉันทิท-
|
|
13,0554,016,ธิบาท วิริยิทธิบาท จิตติทธิบาท วิมัสิทธิบาท ในอิทธิบาททั้ง ๔ นั้น
|
|
13,0554,017,ฉันทิทธิบาทเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ในสมัยใด เจริญโลกุตรฌาน
|
|
13,0554,018,อันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ อันเป็นอปจยคามี เพื่อละทิฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ
|
|
13,0554,019,สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน อันเป็นทุกขาปฏิปทา ทันธา-
|
|
13,0554,020,ภิญญาอยู่ ในสมัยนั้น ธัมมฉันทะใด ชื่อว่าฉันทะ เพราะได้กระทำฉันทะแล้ว
|
|
13,0554,021,ชื่อว่า กุศลเพราะใคร่ที่จะกระทำ นี้เรียกว่า ฉันทิทธิบาท ธรรมที่เหลือ
|
|
13,0554,022,สัมประยุตด้วยฉันทิทธิบาท. ก็ธรรมเหล่านี้ มาแล้วด้วยอำนาจแห่งโลกุตตร.
|
|
|