|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
13,0410,001,ล้ออันเดียว. ที่ชื่อว่า สเตรา ตกไปเช่นกับใบเรือ. ที่ชื่อว่าคัคครา ออกเสียง
|
|
13,0410,002,ดุจไม้ค้อนตกไป. ที่ชื่อว่า กปิสีสา เป็นเหมือนลิงยักคิ้ว. ที่ชื่อว่ามัจฉวิโลลิกา
|
|
13,0410,003,เป็นเหมือนปลาน้ำตาไหล. ที่ชื่อกุกกุฏกา ตกเหมือนไก่. ที่ชื่อว่า ทัณฑมณิกา
|
|
13,0410,004,ตกเช่นกับทางไถ. ที่ชื่อว่า สุกขาสนิ เพิกสถานที่ที่ตกขึ้น (ผ่าขึ้น). บทว่า
|
|
13,0410,005,<B>เทเว วสฺสนฺเต</B> ได้แก่คำรามกระหึ่มแห้ง ๆ เมื่อฝนตกเป็นระยะ ๆ.
|
|
13,0410,006,บทว่า <B>อาตุมายํ</B> ความว่าได้อาศัยเมืองอาตุมาอยู่. บทว่า <B>ภูสาคาเร</B>
|
|
13,0410,007,ได้แก่โรงลานข้าว. บทว่า <B>เอตฺถ โส</B> ได้แก่ หมู่มหาชนที่ชุมนุมกัน เพราะ
|
|
13,0410,008,เหตุนี้. บทว่า <B>กฺว อโหสิ</B> เป็น <B>กุหึ อโหสิ.</B> บทว่า <B>โส ตํ ภนฺเต</B> เป็น
|
|
13,0410,009,<B>โส ตฺวํ ภนฺเต.</B> บทว่า <B>สิงฺคิวณฺณํ</B> ได้แก่มีสีเหมือนทองสิงคี. บทว่า
|
|
13,0410,010,<B>ยุคมฏฺํ</B> แปลว่า เกลี้ยงทั้งคู่. อธิบายว่า คู่ผ้าเนื้อละเอียด. บทว่า <B>ธารณียํ</B>
|
|
13,0410,011,ได้แก่ พึงทรงไว้ อธิบายว่า พึงห่ม เป็นระยะ ๆ. เจ้าปุกกุสะนั้น ใช้
|
|
13,0410,012,เฉพาะในวันมหรศพเห็นปานนั้นเท่านั้น ในเวลาอื่นก็ทิ้งไป. ท่านหมายเอาคู่
|
|
13,0410,013,ผ้ามงคลสูงสุด จึงกล่าวไว้อย่างนี้. บทว่า <B>อนุกมฺปํ อุปาทาย</B> ได้แก่อาศัย
|
|
13,0410,014,ความเอ็นดูในเรา. บทว่า <B>อจฺฉาเทหิ</B> นี้เป็นคำละเมียดละไม. อธิบายว่า
|
|
13,0410,015,จงให้แก่เราหนึ่งผืน อานนท์หนึ่งผืน.
|
|
13,0410,016,ถามว่า ก็พระเถระรับผ้านั้นหรือ. ตอบว่า รับสิ. เพราะเหตุไร.
|
|
13,0410,017,เพราะมีกิจถึงที่สุดแล้ว. ความจริง ท่านพระอานนท์นั้น ห้ามลาภเห็นปานนั้น
|
|
13,0410,018,ปฏิบัติหน้าที่อุปัฏฐากก็จริงอยู่ แต่หน้าที่อุปัฏฐากของท่านนั้น ถึงที่สุดแล้ว
|
|
13,0410,019,เพราะฉะนั้นท่านจึงได้รับ. ก็หรือว่า ชนเหล่าใดพึงพูดอย่างนี้ว่า พระอานนท์
|
|
13,0410,020,ที่จะไม่ยินดี ท่านอุปัฏฐากมาถึง ๒๕ ปี ไม่เคยได้อะไรจากสำนักของพระผู้มี
|
|
13,0410,021,พระภาคเจ้าเลย. เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้รับเพื่อตัดโอกาสของชนเหล่านั้น.
|
|
13,0410,022,อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงทราบว่า อานนท์แม้รับก็จักไม่ใช้ด้วยตนเอง
|
|
13,0410,023,คงจักบูชาเราเท่านั้น แต่บุตรของเจ้ามัลละ เมื่อบูชาอานนท์ ก็จักเท่ากับบูชา
|
|
|