|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
13,0393,001,พระมุนี คือ พระพุทธเจ้า. บทว่า <B>อชฺฌตฺตรโต</B> คือ ยินดีภายในแน่นอน.
|
|
13,0393,002,บทว่า <B>สมาหิโต</B> คือ ตั้งมั่นแล้ว ด้วยอุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ.
|
|
13,0393,003,บทว่า <B>อภินฺทิ กวจมิว</B> ได้แก่ทำลายกิเลส ดุจเกาะ. บทว่า อตฺตสมฺภวํ
|
|
13,0393,004,ได้แก่กิเลสที่เกิดแล้วในตน. ท่านอธิบายไว้ว่า พระมุนีทรงปลดปล่อยโลกิย-
|
|
13,0393,005,กรรม กล่าวคือตุลกรรมและอตุลกรรม ที่ได้ชื่อว่า สัมภวะ เพราะอรรถว่ามี
|
|
13,0393,006,วิบาก ว่าภวสังขาร เพราะอรรถว่า ปรุงแต่งภพและทรงยินดีภายใน ตั้งมั่น
|
|
13,0393,007,แล้ว ทำลายกิเลสที่เกิดในตน เหมือนนักรบใหญ่ในสนามรบทำลายเกาะ
|
|
13,0393,008,ฉะนั้น.
|
|
13,0393,009,อีกนัยหนึ่ง บทว่า <B>ตุลํ</B> ได้แก่ ชั่งคือ พิจารณา. บทว่า <B>อตุลญฺจ
|
|
13,0393,010,สมฺภวํ</B> ได้แก่ พระนิพพานและภพ. บทว่า <B>ภวสงฺขารํ</B> ได้แก่กรรมที่ไปสู่
|
|
13,0393,011,ภพ. บทว่า <B>อวสฺสชฺชิ มุนี</B> ความว่า พระมุนีคือพระพุทธเจ้าทรงพิจารณา
|
|
13,0393,012,โดยนัยเป็นอาทิว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง ความดับปัญจขันธ์คือ นิพพานเป็นของ
|
|
13,0393,013,เที่ยงแล้ว ทรงเห็นโทษในภพ และอานิสงส์ในนิพพานแล้วทรงปลดปล่อยด้วย
|
|
13,0393,014,อริยมรรค อันกระทำความสิ้นกรรมที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า กรรมเครื่องปรุง
|
|
13,0393,015,แต่งภพ อันเป็นมูลแห่งขันธ์ทั้งหลายนั้น เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมดังนี้.
|
|
13,0393,016,พระองค์ทรงยินดีในภายใน ตั้งมั่นแล้ว ทรงทำลายกิเลสที่เกิดในตน เหมือน
|
|
13,0393,017,เกราะได้อย่างไร. ความจริง พระมุนีนั้น ทรงยินดีในภายใน ด้วยอำนาจ
|
|
13,0393,018,วิปัสสนา ทรงตั้งมั่นด้วยอำนาจสมถะ รวมความว่า พระองค์ทรงทำลายข่าย
|
|
13,0393,019,คือกิเลสทั้งหมด ที่ตั้งรึงรัดอัตภาพดุจเกราะ ที่ได้ชื่อว่า อัตตสัมภวะ เพราะ
|
|
13,0393,020,เกิดในตนด้วยกำลังสมถะและวิปัสสนา ตั้งแต่เบื้องต้น และละกรรมด้วยการ
|
|
13,0393,021,ละกิเลสอย่างนี้ว่า กรรมที่ทำโดยไม่มีกิเลส ชื่อว่ายังเหลืออยู่ เพราะไม่มีปฏิสนธิ.
|
|
13,0393,022,พึงทราบว่า ชื่อว่าความกลัวของผู้ละกิเลสได้แล้วไม่มี เพราะฉะนั้น พระมุนีไม่
|
|
13,0393,023,ทรงกลัวแล้ว จึงทรงปลงอายุสังขาร เพราะเหตุนั้น จึงทรงเปล่งอุทาน เพื่อ
|
|
13,0393,024,ให้รู้ว่าไม่ทรงกลัว.
|
|
|