|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
13,0368,001,๗ เพราะความประมาทเป็นเหตุ. สำหรับคฤหัสถ์นั้น เกียรติศัพท์อันชั่ว ย่อม
|
|
13,0368,002,อื้อฉาวไปในท่ามกลางบริษัท ว่าคนโน้นเกิดในตระกูลโน้น ทุศีล มีบาป
|
|
13,0368,003,ธรรม สละทั้งโลกนี้โลกหน้า ไม่ถวายทานแม้เพียงสลากภัต. หรือสำหรับ
|
|
13,0368,004,บรรพชิต เกียรติศัพท์อันชั่วก็ฟุ้งไปอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อโน้น ไม่สามารถรักษา
|
|
13,0368,005,ศีลได้ ไม่สามารถจะเรียนพระพุทธพจน์ได้เลี้ยงชีพด้วยอเนสนกรรม มีเวชช-
|
|
13,0368,006,กรรมเป็นต้น ประกอบด้วยอคารวะ ๖. บทว่า <B>อวิสารโท</B> ความว่า คฤหัสถ์
|
|
13,0368,007,มีความกลัวว่า ก่อนอื่น คนบางพวกจักรู้เรื่องกรรมของเรา ดังนั้นก็จักข่มเรา
|
|
13,0368,008,หรือแสดงตัวต่อราชสกุล ในที่ประชุมคนจำนวนมากแน่แท้ จึงเข้าไปหา
|
|
13,0368,009,ประหม่า คอตก หน้าคว่ำ นั่งเอาหัวแม่มือไถพื้น ถึงเป็นคนกล้า ก็ไม่อาจ
|
|
13,0368,010,พูดจาได้. ฝ่ายบรรพชิตมีความกลัวว่าภิกษุเป็นอันมากประชุมกัน บางรูป
|
|
13,0368,011,จักรู้กรรมของเราแน่ ดั่งนั้น จักงดอุโบสถบ้าง ปวารณาบ้างแก่เรา จักคร่า
|
|
13,0368,012,เราให้เคลื่อนจากเพศสมณะจึงเข้าไปหา ถึงเป็นคนกล้าก็ไม่อาจพูดจาได้. ส่วน
|
|
13,0368,013,ภิกษุบางรูป แม้ทุศีลก็เที่ยวไปประดุจผู้ไม่ทุศีล แม้ภิกษุนั้น ก็ย่อมเป็นผู้
|
|
13,0368,014,เก้อเขินโดยอัธยาศัยทีเดียว. บทว่า <B>สมฺมุโฬฺห กาลํ กโรติ</B> ความว่า ก็เมื่อ
|
|
13,0368,015,ภิกษุผู้ทุศีลนั้น นอนบนเตียงเป็นที่ตาย สถานที่ที่ยึดถือพระพฤติในกรรมคือ
|
|
13,0368,016,ทุศีล ย่อมมาปรากฏ. ภิกษุทุศีลนั้น ลืมตาก็เห็นโลกนี้ หลับตาก็เห็นปรโลก
|
|
13,0368,017,อบาย ๔ ก็ปรากฏ แก่ภิกษุทุศีลนั้น. ภิกษุทุศีลนั้นก็เป็นประหนึ่งถูกหอก
|
|
13,0368,018,๑๐๐ เล่ม แทงที่ศีรษะ เธอจะร้องว่า ห้ามที ห้ามที มรณะไป. ด้วยเหตุนั้น
|
|
13,0368,019,พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า <B>สมฺมุโฬห กาลํ กโรติ</B> หลงตาย ดังนี้. บทที่ ๕
|
|
13,0368,020,ก็ง่ายเหมือนกัน. เรื่องอานิสงส์ ก็พึงทราบโดยปริยายตรงกันข้ามกับที่กล่าว
|
|
13,0368,021,ไว้แล้ว.
|
|
13,0368,022,บทว่า <B>พหฺเทว รตฺตึ ธมฺมิยา กถาย</B> ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
|
|
13,0368,023,ทรงให้อิ่มเอิบแล้ว ให้เห็นแจ้งแล้ว ให้สมาทานแล้ว ให้อาจหาญแล้ว ให้
|
|
|