|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
13,0358,001,บทว่า <B>ภาเวสฺสนฺติ</B> ความว่า ภิกษุทั้งหลายตั้งสติสัมโพชฌงค์ ด้วยเหตุ ๔
|
|
13,0358,002,ตั้งธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ด้วยเหตุ ๖ ตั้งวิริยสัมโพชฌงค์ ด้วยเหตุ ๙ ตั้ง
|
|
13,0358,003,ปีติสัมโพชฌงค์ ด้วยเหตุ ๑๐ ตั้งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ด้วยเหตุ ๗ ตั้ง
|
|
13,0358,004,สมาธิสัมโพชฌงค์ ด้วยเหตุ ๑๐ ตั้งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ ด้วยเหตุ ๕ จักทำให้
|
|
13,0358,005,เจริญ. ท่านกล่าวสัมโพชฌงค์คละกันทั้งโลกิยะทั้งโลกุตตระประกอบด้วยวิปัสสนา
|
|
13,0358,006,และมรรคผลด้วยบทนี้.
|
|
13,0358,007,พึงทราบวินิจฉัยในสัตตกะที่ ๕ ดังต่อไปนี้. สัญญาที่เกิดขึ้นพร้อมกับ
|
|
13,0358,008,อนิจจานุปัสสนา ชื่อว่า อนิจจสัญญา. แม้ในอนัตตสัญญาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือน
|
|
13,0358,009,กัน. พึงทราบว่าสัญญา ๗ นี้ เป็นโลกิยวิปัสสนาก็มี สัญญา ๒ ในที่นี้ เป็น
|
|
13,0358,010,โลกุตตรวิปัสสนาก็มี โดยบาลีที่มาว่านิพพานนี้สงบประณีต คือ ธรรมที่ระงับ
|
|
13,0358,011,สังขารทั้งปวง ฯลฯ นิโรธ.
|
|
13,0358,012,พึงทราบวินิจฉัยในฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า <B>เมตฺตํ กายกมฺมํ</B> ได้แก่
|
|
13,0358,013,กายกรรมที่พึงทำด้วยเมตตาจิต. แม้ในวจีกรรมและมโนกรรมก็นัยนี้เหมือนกัน.
|
|
13,0358,014,ก็กรรมทั้ง ๓ นี้มาโดยเป็นของเหล่าภิกษุ แม้ในเหล่าคฤหัสถ์ก็ใช้ได้ จริงอยู่
|
|
13,0358,015,สำหรับเหล่าภิกษุ การบำเพ็ญธรรมคือ อภิสมาจารด้วยเมตตาจิต ชื่อว่า เมตตา
|
|
13,0358,016,กายกรรม. สำหรับคฤหัสถ์กิจมีเป็นต้นอย่างนี้ คือการไปไหว้พระเจดีย์ ไหว้
|
|
13,0358,017,ต้นโพธิ์ นิมนต์สงฆ์ การพบเหล่าภิกษุเข้าบ้านไปบิณฑบาตแล้วต้อนรับรับบาตร
|
|
13,0358,018,ปูอาสนะ เดินตาม ทาน้ำมัน ชื่อว่า เมตตากายกรรม. สำหรับเหล่าภิกษุ
|
|
13,0358,019,การสอนอาจาระ บัญญัติสิกขาบท และกัมมัฏฐาน การแสดงธรรม แม้พระ-
|
|
13,0358,020,ไตรปิฎก พุทธวจนะ ด้วยเมตตาจิต ชื่อว่าเมตตาวจีกรรม. สำหรับคฤหัสถ์
|
|
13,0358,021,ในเวลากล่าวเป็นต้นว่า พวกเราไปไหว้พระเจดีย์ ไปไหว้ต้นโพธิ์ กระทำการ
|
|
13,0358,022,ฟังธรรม ให้ทำการบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน สมาทานประพฤติสุจริต ๓ ถวาย
|
|
13,0358,023,สลากภัตเป็นต้น ถวายผ้าอาบน้ำฝน วันนี้ถวายปัจจัย ๔ แก่สงฆ์ นิมนต์สงฆ์
|
|
|