|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
13,0211,001,ผู้อื่น ชื่อ <B>ทณฺฑาทานํ</B> การถือมีดมีคมข้างเดียวเป็นต้น ชื่อ <B>สตฺถาทานํ.</B> บทว่า
|
|
13,0211,002,<B>กลโห</B> คือทะเลาะทางกายบ้าง ทะเลาะทางวาจาบ้าง ความพิโรธมีมาก่อน ๆ
|
|
13,0211,003,ชื่อว่า <B>วิคคหะ</B> (ความทะเลาะกัน) มีมาตอนหลัง ๆ ชื่อ วิวาท (การโต้เถียง
|
|
13,0211,004,กัน). บทว่า <B>ตุวํ ตุวํ</B> เป็นคำไม่เคารพ คือพูด มึงมึง.
|
|
13,0211,005,บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงตัณหาอันเป็นความฟุ้งเฟ้อนั้น
|
|
13,0211,006,แม้โดยนัยปฏิโลมจึงทรงปรารภ บทว่า <B>อารกฺขาธิกรณํ</B> (เหตุแห่งการป้อง
|
|
13,0211,007,กัน) ทรงกลับการแสดง. ในบทเหล่านั้น บทว่า <B>กามตณฺหา</B> ได้แก่ความอยาก
|
|
13,0211,008,ในรูปเป็นต้น อันเกิดขึ้นแล้วด้วยสามารถราคะอันประกอบด้วยกามคุณ ๕.
|
|
13,0211,009,บทว่า <B>ภวตณฺหา</B> คือราคะสหรคต ด้วยสัสสตทิฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง). บทว่า
|
|
13,0211,010,<B>วิภวตณฺหา</B> คือราคะสหรคตด้วยอุจเฉททิฐิ (ความเห็นว่าสูญ).
|
|
13,0211,011,บทว่า <B>อิเม เทฺว ธมฺมา</B> คือธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ คือ ตัณหามีวัฏฏะ
|
|
13,0211,012,เป็นราก และตัณหาอันฟุ้งเฟ้อ. บทว่า <B>ทฺวเยน</B> ความว่า ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้
|
|
13,0211,013,แม้ถึงความเป็นอันเดียวกันโดยลักษณะของตัณหา ก็ย่อมเป็นการรวมเป็น
|
|
13,0211,014,อันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วน ๒ ด้วยสามารถตัณหามีวัฏฏะเป็นราก และ
|
|
13,0211,015,ตัณหาอันฟุ้งเฟ้อ อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้มีปัจจัยร่วมกันโดยมีเวทนา
|
|
13,0211,016,เป็นปัจจัย จริงอยู่ การรวมกันมี ๓ อย่างคือ การประชุมรวมกัน การรวมสหชาต
|
|
13,0211,017,การรวมปัจจัย ในบทเหล่านั้น บทนี้ว่า ครั้งนั้นแล การรวมชาวบ้านเหล่านั้น
|
|
13,0211,018,ทั้งหมดย่อมมีขึ้นดังนี้ ชื่อว่า การประชุมรวมกัน ถ้อยคำนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
|
|
13,0211,019,ธรรมเหล่านี้ มีฉันทะเป็นราก มีผัสสะเป็นที่เกิด มีเวทนาเป็นที่รวม ชื่อรวม
|
|
13,0211,020,สหชาต ก็พึงทราบบทนี้ว่า การรวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนาโดย ๒ ส่วน ชื่อ
|
|
13,0211,021,ว่ารวมปัจจัย.
|
|
|