|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
13,0141,001,ทรงรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ในสารทกาลและดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ.
|
|
13,0141,002,<I>จบภาณวารกถาที่ ๒</I>
|
|
13,0141,003,พึงทราบในภาณวารที่ ๓. บทว่า <B>ยนฺนูนาหํ ธมฺมํ เทเสยฺยํ</B> ความว่า
|
|
13,0141,004,ไฉนหนอ เราจะพึงแสดงธรรม. ก็วิตกนี้เกิดขึ้นแล้วเมื่อไร. เกิดขึ้นในสัปดาห์
|
|
13,0141,005,ที่ ๘ ของผู้เป็นพระพุทธเจ้า.
|
|
13,0141,006,ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสีนั้นเป็นพระพุทธเจ้า
|
|
13,0141,007,แล้วประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ตลอดสัปดาห์ ประทับยืนเพ่งดูโพธิบัลลังก์ตลอด
|
|
13,0141,008,สัปดาห์ เสด็จจงกรม ณ เรือนแก้วตลอดสัปดาห์ ประทับนั่งเฟ้นพระธรรม
|
|
13,0141,009,ณ เรือนแก้วตลอดสัปดาห์ ประทับนั่ง ณ อชปาลนิโครธตลอดสัปดาห์ ประทับ
|
|
13,0141,010,นั่ง ณ โคนมุจลินท์ตลอดสัปดาห์ ประทับนั่ง ณ ราชายตนะตลอดสัปดาห์
|
|
13,0141,011,เสด็จลุกจากราชายตนะนั้น พอพระองค์เสด็จมาในสัปดาห์ที่ ๘ ประทับนั่ง ณ
|
|
13,0141,012,อชปาลนิโครธอีก ความวิตกนี้และความวิตกนอกเหนือจากนี้ที่พระพุทธเจ้า
|
|
13,0141,013,ประพฤติและพระพฤติมาอย่างสม่ำเสมอเกิดขึ้นแล้วแก่พระพุทธเจ้าทั้งปวง.
|
|
13,0141,014,ในบททั้งหลายเหล่านั้น บทว่า <B>อธิคโต</B> คือแทงตลอดแล้ว. บทว่า
|
|
13,0141,015,<B>ธมฺโม</B> ได้แก่ ธรรมคืออริยสัจ ๔. บทว่า <B>คมฺภีโร</B> นี้ เป็นชื่อของการปฏิเสธ
|
|
13,0141,016,ความเป็นของตื้น. บทว่า <B>ทุทฺทโส</B> ความว่า เป็นธรรมที่เห็นได้ยาก คือเป็น
|
|
13,0141,017,ธรรมอันบุคคลเห็นโดยยาก คือไม่สามารถเห็นง่าย เพราะเป็นธรรมลึกซึ้ง.
|
|
13,0141,018,เพราะเป็นธรรมที่เห็นได้ยาก จึงเป็นธรรมที่รู้ตามยากอันบุคคลพึงตรัสรู้โดยยาก
|
|
13,0141,019,คือไม่สามารถตรัสรู้ได้โดยง่าย. บทว่า <B>สนฺโต</B> คือดับสนิทแล้ว. บทว่า
|
|
13,0141,020,<B>ปณีโต</B> คือไม่เร่าร้อน ทั้งสองบทนี้ท่านกล่าวหมายถึง โลกุตตระนั่นเอง.
|
|
13,0141,021,บทว่า <B>อตกฺกาวจโร</B> ความว่า ไม่ควรคาดคะเน คือไม่ควรหยั่งลงด้วยการ
|
|
13,0141,022,ตรึก ควรคาดคะเนด้วยญาณเท่านั้น. บทว่า <B>นิปุโณ</B> คือละเอียด. บทว่า
|
|
|