|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
13,0119,001,บทว่า <B>อโนนมนฺโต</B> คือไม่น้อมลง. ท่านแสดงความที่พระมหาบุรุษ
|
|
13,0119,002,นั้นไม่ค่อมไม่แคระด้วยบทนี้. ก็คนที่เหลือเป็นคนค่อมหรือเป็นคนแคระ.
|
|
13,0119,003,คนค่อมกายส่วนบนไม่บริบูรณ์ คนแคระกายส่วนล่างไม่บริบูรณ์ คนเหล่านั้น
|
|
13,0119,004,เพราะกายไม่บริบูรณ์เมื่อก้มลงจึงไม่สามารถลูบคลำเข่าได้. แต่พระมหาบุรุษ
|
|
13,0119,005,เพราะพระวรกายทั้งส่วนบนส่วนล่างบริบูรณ์ จึงสามารถลูบคลำได้.
|
|
13,0119,006,บทว่า <B>โกโสหิตวตฺถคุยฺโห</B> ความว่า พระมหาบุรุษมีพระคุยหะซ่อน
|
|
13,0119,007,อยู่ในฝัก ดุจฝักบัวทอง ดุจคุยหะแห่งโคและช้างเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระ-
|
|
13,0119,008,มหาบุรุษจึงมีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก. บทว่า <B>วตฺถคุยฺหํ</B> ท่านกล่าวองคชาต
|
|
13,0119,009,ควรปกปิดด้วยผ้า.
|
|
13,0119,010,บทว่า <B>สุวณฺณวณฺโณ</B> ความว่า พระมหาบุรุษเช่นกับรูปทองแท่งที่
|
|
13,0119,011,คลุกเคล้าด้วยสีแดงชาดแล้วขัดด้วยเขี้ยวเสือ แล้วระบายด้วยดินสอแดงตั้งไว้.
|
|
13,0119,012,ด้วยบทนี้เพื่อแสดงความที่พระวรกายของพระมหาบุรุษนั้น แน่นสนิทละเอียด
|
|
13,0119,013,แล้วจึงแสดงพระฉวีวรรณ ท่านจึงกล่าวว่า พระมหาบุรุษมีพระฉวีคล้ายกับทอง
|
|
13,0119,014,คำดังนี้. อีกอย่างหนึ่งบทนี้เป็นไวพจน์ของบทก่อน.
|
|
13,0119,015,บทว่า <B>รโชชลฺลํ</B> คือ ธุลีหรือมลทิน. บทว่า <B>น อุปลิมฺปติ</B> ความ
|
|
13,0119,016,ว่าไม่ติด คือ กลิ้งเหมือนหยาดน้ำกลิ้งจากใบบัว. ก็พระพุทธเจ้าทั้งปวงทรงกระทำ
|
|
13,0119,017,การชำระพระหัตถ์เป็นต้น เพื่อกำหนดฤดูและเพื่อผลบุญของพวกทายก. อนึ่ง
|
|
13,0119,018,ทรงกระทำแม้โดยหลักปฏิบัตินั้นเอง. ข้อนี้ท่านกล่าวไว้ว่า ก็ภิกษุผู้จะเข้าไปสู่
|
|
13,0119,019,เสนาสนะควรชำระเท้าแล้วจึงเข้าไป.
|
|
13,0119,020,บทว่า <B>อุทฺธคฺคโลโม</B> ความว่า พระมหาบุรุษมีพระโลมชาติมีปลาย
|
|
13,0119,021,ช้อยขึ้นเบื้องบน ตอนปลายเวียนเป็นทักษิณาวัฏ ตั้งอยู่มองดูพระพักตร์งาม
|
|
13,0119,022,เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษมีพระโลมชาติมีปลายช้อนขึ้นเบื้องบน.
|
|
|