File size: 4,650 Bytes
3c90236 |
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 |
Book,Page,LineNumber,Text
13,0093,001,บทว่า <B>อนุสฺสริสฺสติ</B> นี้เป็นคำกล่าวถึงอนาคต ด้วยอํานาจของนิบาต
13,0093,002,ว่า <B>ยตฺรหิ</B> ดังนี้. ก็ในบทนี้พึงทราบอธิบายด้วยสามารถแห่งอดีต จริงอยู่
13,0093,003,พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว ไม่ใช่จัก
13,0093,004,ระลึกถึงในบัดนี้.
13,0093,005,บทว่า <B>เอวํสีลา</B> ความว่า มีศีลอย่างนี้โดย มรรคศีล ผลศีล โลกิยศีล
13,0093,006,โลกุตตรศีล. บทว่า <B>เอวํธมฺมา</B> ความว่า ธรรมเป็นฝ่ายสมาธินั่นแล ท่าน
13,0093,007,ประสงค์ในบทนี้. อธิบายว่า มี้สมาธิอย่างนี้โดยมรรคสมาธิ ผลสมาธิ โลกิยสมาธิ
13,0093,008,โลกุตตรสมาธิ. บทว่า <B>เอวํปญฺา</B> ความว่า มีปัญญาอย่างนี้ด้วยสามารถแห่ง
13,0093,009,มรรคปัญญา เป็นต้น.
13,0093,010,บทว่า <B>เอวํวิหารี</B> อธิบายว่า หากมีปัญหาว่า ก็ในบทนี้ เพราะธรรม
13,0093,011,ฝ่ายสมาธิท่านยึดถือในภายหลังเป็นอันยึดถือวิหารธรรมด้วย เพราะเหตุไร จึง
13,0093,012,ยึดถือธรรมที่ยึดถืออยู่แล้วอีกเล่า. ตอบว่า นี้ไม่ใช่เป็นการยึดถือ. เพราะบทนี้
13,0093,013,ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงนิโรธสมาบัติ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น
13,0093,014,ได้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่คือนิโรธสมาบัติ พึงทราบความในบทนี้อย่างนี้.
13,0093,015,บทว่า <B>เอวํ วิมุตฺตา</B> ความว่า ความพ้นในบทนี้มี ๕ อย่าง คือ
13,0093,016,พ้นด้วยข่มไว้ (วิกขัมภนวิมุตติ) พ้นชั่วคราว (ตทังควิมุตติ) พ้นเด็ดขาด
13,0093,017,(สมุจเฉทวิมุตติ) พ้นอย่างสงบ (ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ) พ้นออกไป (นิสสรณ-
13,0093,018,วิมุตติ). ในวิมุตติเหล่านั้น สมาบัติ ๘ จัดเป็นวิกขัมภนวิมุตติ เพราะพ้นจาก
13,0093,019,นิวรณ์เป็นต้นที่ข่มไว้ได้เอง. อนุปัสสนา ๗ มี อนิจจานุปสัสนา เป็นต้น
13,0093,020,จัดเป็น ตทังควิมุตติ เพราะกำหนดด้วยสามารถเป็นข้าศึกของธรรมนั้น ๆ เอง
13,0093,021,เพราะพ้นจากนิจจสัญญาเป็นต้น เหล่านั้น. อริยมรรค จัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติ
13,0093,022,เพราะพ้นจากกิเลสที่ตัดขาดแล้วเอง. สามัญญผล ๔ จัดเป็นปฏิปัสสัทธิวิมุตติ
13,0093,023,เพราะเกิดขึ้นในที่สุดแห่งการสงบของกิเลสด้วยอานุภาพมรรค. นิพพานจัดเป็น
|